คำถาม-คำตอบ กลุ่มน้ำยาซีโรเดีย

ข้อแนะนำเทคนิคการทำการทดสอบ ปฏิกิริยาเกาะกลุ่ม (Gelatin Agglutination Reaction)

ถาม
มีข้อระวังหรือปฏิบัติต่างกันอย่างไรสำหรับกระบวนการการทดสอบ GPA (Gelatin Particles Agglutination process) บน ไมโครเพลท ที่ทำครั้งเดียวหมดทั้งเพลท และทำหลายครั้งในเพลทเดิม

ตอบ
ตามหลักการแล้วต้องผสมสารละลายให้เข้ากันก่อนเข้าขบวนการ Incubation จะทำการเขย่าด้วยเครื่อง 2-3 วินาทีหรือเคาะมุมขอบเพลทกับฝ่ามือเบาๆ
แต่ในกรณีที่ทำการทดสอบไม่หมดทั้งเพลท และทำการทดสอบบนเพลทเดิม การเขย่าให้เข้ากันอีกครั้งจะยังผลให้ผลการทดสอบก่อนหน้านั้นเป็นลบ เพราะแรงสั่นสะเทือนในการเขย่าหรือเคาะ  จึงกลายเป็นข้อห้ามที่ไม่ควรทำให้เพลทสั่นสะเทือน ทางแก้บริษัทแนะนำให้หยด Sensitized particles ลงตรงกลางหลุมแต่ละหลุม โดยอาศัยแรงตึงผิว การหยดสารแขวนตะกอน sensitized particles เมื่อตกกระทบสารละลายภายในหลุม ก็จะกระจายแผ่ไปทั่วหลุมเอง กลับเป็นผลดีต่อการเกิดปฏิกิริยา agglutination และให้ผลการเกาะกลุ่มที่มีรูปแบบสวยงามชัดเจนยิ่งขึ้น หากหยดพลาดลงที่ข้างหลุม ให้ใช้ micro pipette tip ที่ไม่เคยใช้มาก่อน เขี่ยให้ของเหลวลงก้นหลุมแล้วคนให้เข้ากัน

.....................................................................................................................................................................................................................................

ถาม
การนำไมโครเพลท ไปล้างด้วยเครื่อง ultra sound washer แล้วนำมาใช้ใหม่สามารถทำได้หรือไม่ และจะมีผลเสียต่อผลการทดสอบอย่างไร

ตอบ

แนะนำให้ใช้ FASTEC Micro titer plate U shape สำหรับผลิตภัณฑ์ กลุ่ม SERODIA ทั้งหมด ให้ใช้ทดสอบเพียงครั้งเดียวในแต่ละหลุม บริษัทจัดหามาให้อย่างพอเพียงโดยไม่คิดมูลค่า การนำไปล้างแล้วนำมาใช้ใหม่จะทำให้อ่านผลได้ไม่แน่นอนและควบคุมไม่ได้

.....................................................................................................................................................................................................................................


ถาม
มีวิธีหรือหลักในการอ่านผลของปฏิกิริยาการเกาะกลุ่มอย่างไรถึงไม่สับสน

ตอบ
ให้อ่านเฉพาะ non reactive โดยให้สังเกตุมีรูปแบบ อนุภาค sensitized particle ตกตะกอนรวมตัวที่ก้นหลุม เป็นจุดกลมคล้ายเม็ดกระดุม สีสดใส ขอบคมชัด อาจมีสีจางกลางหลุมแต่เส้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเม็ดกระดุม  ลักษณะนอกจากนั้นให้อ่านเป็น reactive

.....................................................................................................................................................................................................................................

ถาม
มีเทคนิคใช้ Dropper อย่างไร ทำให้หยด sensitized particles solution ทุกครั้งได้ปริมาตร 25 ไมโครลิตรคงที่

ตอบ
ทำความสะอาดปลาย Dropper ภายนอกด้วยกระดาษชำระที่สะอาด เช็ดทุกครั้งก่อนนำไปใช้ดูดของเหลว  ขณะที่จะดูดของเหลว ให้ระดับปลาย Dropper ต่ำกว่าของเหลวเล็กน้อย ไม่ควรให้ปลายลึกเกินควร เพื่อป้องกันมิให้ของเหลวเกาะภายนอกอุปกรณ์เกินควร ดูดของเหลวพอประมาณที่จะใช้  ปาดปลาย dropper กับปากขวดบรรจุของเหลวให้สะเด็ด หยดทดสอบสองสามหยด โดยถือ dropper ตั้งฉากกับพื้นราบสังเกตหยดน้ำต้องออกจากปลายสุดของ dropper จะได้ปริมาตร 25 ไมโครลิตร พอดีทุกครั้ง หาก dropper เอียงไม่ตั้ง ฉาก หยดน้ำจะย้อนกลับ ทำให้หยดน้ำมีขนาดใหญ่และไม่คงที่ ปริมาตรจะเกิน 25 ไมโครลิตร ทำให้ สิ้นเปลืองน้ำยา  มีผลทำให้ได้จำนวนทดสอบลดลง

.....................................................................................................................................................................................................................................


ถาม
หลังจากได้ผล Reactive ต้องทำการทดสอบต่อไปอย่างไรถึงจะเปลี่ยน reactive เป็น positive ได้ เมื่อใช้ชุดทดสอบ Serodia HIV

ตอบ
อาศัยคำแนะนำของ WHO ในการวินิจฉัยการติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ โดยการนำไปทดสอบอีกครั้งด้วย Western Blot หรือ ชุดทดสอบอื่นที่มีองค์ประกอบเอนติเจนต่างกัน คือ ชุดทดสอบเบื้องต้น ต้องเป็นชุดทดสอบที่มีความไวสูงสุดในเชิงคุณภาพ (หากมีชนิดแอติเจนของเชื้อใดๆ หลายชนิดย่อมมีความไวในเชิงคุณภาพมากกว่ามีน้อยชนิด ซึ่งต่างจากความไวในเชิงปริมาณที่ตรวจได้ระดับต่ำสุดที่จะตรวจได้ของแต่ละชนิด)
หาก

1) อุบัติการณ์การติดเชื้อในท้องถิ่นมีอัตรา น้อยกว่า ร้อยละสิบให้ทำการทดสอบซ้ำอีกสองชุดทดสอบที่มีองค์ประกอบแอนติเจนต่างกัน ผลทั้งสามครั้งต้อง Reactive
2) หากอุบัติการณ์การติดเชื้อในท้องถิ่นมีอัตรา มากกว่า ร้อยละสิบแต่ไม่ถึงร้อยละสามสิบให้ทำการทดสอบซ้ำอีกครั้งด้วยชุดทดสอบ ที่มีองค์ประกอบแอนิเจนต่างกัน ผลทั้งสองต้อง Reactive
3) หากอุบัติการณ์การติดเชื้อในท้องถิ่นมีอัตราไม่น้อยร้อยละสามสิบ ผล Reactive จากการทดสอบเพียงเบื้องต้นด้วยชุดทดสอบเดียวก็พอ หากมีผลขัดแย้งจำเป็นต้อง Follow up ด้วย ชุดทดสอบ Western Blot


.....................................................................................................................................................................................................................................


ถาม

การที่ใช้ชุดทดสอบ Anti-HIV ที่มีแอนติเจน ต่างกัน สองหรือสาม ชุดทดสอบ หมายถึงอะไร

ตอบ
เนื่องจากการยืนยันการติดเชื้อ HIV โดยใช้ ชุดทดสอบ HIV Western Blot จะกำหนดให้ แถบสีที่เกิดจากปฏิกิริยาของ แอนติบอดีต่อแอนติเจนของ เอชไอวี  อย่างน้อย 3 แถบแอนติเจนได้แก่ core protein p24 ,และ สองในสามของ  envelop proteins (gp160, gp120 และ gp41) เป็นต้น
การเลือกใช้ชุดทดสอบที่มีแอนติเจนต่างกัน จึงจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมเพื่อให้การทดสอบครอบคลุมให้ครบ สามแอนติเจนที่ต่างกัน จึงมีนัยตรงกันกับการใช้ชุดทดสอบ  HIV Western Blot

.....................................................................................................................................................................................................................................



Free web hostingWeb hosting